วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บุญ10

#   ว. ฟังธรรม
(ชาดก ใน # อ.แสดงธรรม)
เรื่อง   ลิงกับควาย

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภลิงโลเลตัวหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า กิมตฺถมภิสนฺธาย ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีลิงโลเลที่เขาเลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง ในตระกูลหนึ่ง ได้ไปยังโรงช้าง นั่งบนหลังช้างผู้มีศีลตัวหนึ่งถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะ และเดินไปเดินมาบนหลัง.

ช้างก็ไม่ทำอะไรเพราะตนมีศีล ถึงพร้อมด้วยความอดทน. ครั้นวันหนึ่ง ลูกช้างดุตัวหนึ่งได้ยืนอยู่ในที่ของช้าง

เชือกนั้น ลิงได้ขึ้นหลังช้างดุด้วยสำคัญว่า ช้างนี้ก็คือช้างนั้นนั่นแหละ ลำดับนั้น

ลูกช้างดุนั้นเอางวงจับลิงนั้นไว้ด้วยความ

รวดเร็วแล้วฟาดลงที่พื้นดิน เอาเท้าเหยียบขยี้ให้แหลกลานไป ประพฤติเหตุนั้นได้ปรากฏแก่หมู่ภิกษุสงฆ์.

ครั้นวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรม

สภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า ลิงโลเลขึ้นหลังช้างดุ ด้วยสำคัญว่าเป็นช้างผู้มีศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น ช้างดุเชือกนั้นก็ทำให้ลิงโลเลตัวนั้นถึง

ความสิ้นชีวิต.

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

มิใช่บัดนี้เท่านั้นที่ลิงโลเลตัวนั้นเป็นผู้มีปกติเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วก็มีปกติเป็นอย่าง

นั้นเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระบืออยู่ในหิมวันตประเทศ พอเจริญวัยก็สมบูรณ์ด้วยกำลังแรง มีร่างกายใหญ่ ท่องเที่ยวไปตามเชิงเขา เงื้อมเขา ซอกเขาและป่าทึบ เห็นโคนไม้อันผาสุกสำราญแห่งหนึ่ง เที่ยวหากินอิ่มแล้ว ในตอนกลางวันได้มายืนพักอยู่ที่โคนไม้นั้น

.

ครั้งนั้น มีลิงโลนตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ แล้วขึ้นบนหลังของกระบือนั้น ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด จับเขาทั้งสองโหนจับหางแกว่งไปแกว่ง

มาเล่น.

พระโพธิสัตว์มิได้ใส่ใจอนาจารนั้นของ

ลิงโลนตัวนั้น เพราะประกอบด้วยขันติ เมตตาและความเอ็นดู ลิงกระทำอย่างนั้นนั่นแลบ่อยๆ.

ครั้นวันหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้นั้นยืนอยู่ที่ลำต้นของต้นไม้นั้น กล่าวกะกระบือโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพระยากระบือ เพราะเหตุไร ท่านจึงอดกลั้นการดูหมิ่นของลิงชั่วตัวนี้ ท่านจงเกียดกันมันเสีย

เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงได้กล่าว ๒ คาถาแรกว่า.

ท่านอาศัยเหตุอะไร จึงอดกลั้นทุกข์นี้ต่อลิงผู้มีจิตกลับกลอก มักประทุษร้ายมิตร ประหนึ่งเจ้าของผู้ให้ความใคร่ทั้งปวง.

ท่านจงขวิดมันด้วยเขา จงเหยียบเสียด้วยเท้า ถ้าไม่ห้ามปรามมันเสีย สัตว์ทั้งหลายที่โง่เขลาก็จะเบียดเบียนร่ำไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมตฺถมภิสนฺธาย ได้แก่ อาศัยเหตุอะไรหนอ คือเห็นอะไรอยู่. บทว่า ทุพฺภิโน แปลว่า ผู้มักประทุษร้ายมิตร.

บทว่า สพฺพกามทุหสฺเสว ได้แก่ ดุจเป็นเจ้าของผู้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวง. บทว่า ติติกฺขสิ แปลว่า อดกลั้น.

บทว่า ปทสาว อธิฏฺฐห ความว่า ท่านจงเหยียบมันด้วยเท้า และขวิดมันด้วยปลายเขาอันคมกริบ โดยประการที่มันจะตายอยู่ในที่นี้ทีเดียว ด้วยบทว่า ภิยฺโย พาลา นี้ ท่านแสดงว่า ก็ถ้าท่านจะไม่ห้ามปรามมัน สัตว์ที่โง่เขลา คือสัตว์ที่ไม่รู้จะพึงข่มขี่ ย่ำยี เบียดเบียนบ่อยๆ.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านรุกขเทวดา ถ้าเราเป็นผู้ยิ่งกว่าลิงตัวนี้ โดยชาติ โคตร และวัสสายุกาลเป็นต้น จักไม่อดกลั้นโทษของลิงตัวนี้ไซร้ มโนรถความปรารถนาของเราจักถึงความ

สำเร็จได้อย่างไร

ก็ลิงตัวนี้เมื่อสำคัญแม้ผู้อื่นว่าเหมือนดังเรา จักกระทำอนาจารอย่างนี้ แต่นั้น มันจักกระทำอย่างนี้แก่กระบือดุร้ายเหล่าใด กระบือดุร้ายเหล่านั้นแหละจักฆ่ามันเสีย การที่กระบือตัวอื่นฆ่าลิงตัวนี้นั้น เราก็จักพ้นจากทุกข์และปาณาติบาต แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

เมื่อลิงตัวนี้สำคัญกระบือตัวอื่นเป็นดุจ

ข้าพเจ้า จักกระทำอนาจารอย่างนี้แก่กระบือตัวอื่น กระบือเหล่านั้นจักฆ่ามันเสียในที่นั้น อันนั้นความหลุดพ้นจักมีแก่ข้าพเจ้า.

ก็ต่อเมื่อล่วงไป ๒-๓ วัน พระโพธิสัตว์ได้ไปอยู่ในที่อื่น กระบือดุตัวหนึ่งได้มายืนอยู่ที่โคนไม้ต้นนั้น ลิงชั่วจึงขึ้นหลังกระบือดุตัวนั้นด้วยสำคัญ

ว่า กระบือตัวนี้ก็คือกระบือตัวนั้นแหละ แล้วกระทำอนาจารอย่างนั้นนั่นแหละ.

ลำดับนั้น กระบือดุตัวนั้นสลัดลิงนั้นให้ตกลงบนพื้น

ดิน เอาเขาขวิดที่หัวใจเอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณ.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกว่า

กระบือดุร้ายในครั้งนั้น ได้เป็น ช้างดุร้ายตัวนี้ในบัดนี้

ลิงชั่วช้าในครั้งนั้น ได้เป็น ลิงตัวนี้ ในบัดนี้

ส่วนพระยากระบือในครั้งนั้น คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามหิสชาดกที่ ๘

http://www.84000.org/tipitaka

/atita100/jataka.php?i=270433

-------------------------------------------------

# กา.

*ทำความเห็นถูกตรง สัมมาทิฏฐิ
ทั้งเบื้องต้น ข้อ 1,2,4,5,6,
และสัมมาทิฏฐิเบื้องปลายทั้ง4 ข้อ

ทำความเห็นถูกตรงสัมมาทิฏฐิ
   เบื้องต้น10ประการ คือ

1.ทานที่ให้แล้วมีผลให้ทานแก่   พวก14 ด้วยอามิสทาน อภัยทายและธรรมทานเพื่อ
ปรุงแต่งจิตมีผลดีจริง

2.  ยัญที่บูชาแล้วมีผล;บูชาบุคลที่ประพฤติสุจริต 3 ด้วยอามิสบูชา

3. การเซ่นสรวงดีมีผล;บวงสรวงแก่แขก ญาติ เทว
ราช เปรต เพื่อเสริม กำลังเรา
มีผลดี

4. ผลคือวิบากของกรรมที่ทำดี
และทำชั่วมีแน่

5.  โลกนี้มีจริง::
--->เชื่อว่าผู้ที่จะมาเกิด
ในโลกนี้มีจริง

6.  โลกหน้ามีจริง::
---->เชื่อว่ายังเวียนว่ายอยู่จะต้อง
เกิดใหม่ในโลกหน้าและ รับผลกรรมที่ทำ ไว้ในโลกนี้

7.  มารดามี ;มีบุญคุณต้องตอบแทนการทำดีทำชั่วต่อมารดา ย่อมจะได้รับผล.

8.  บิดามี;มีบุญคุณต้องตอบแทนการทำดี
ทำชั่วต่อบิดา ย่อมได้รับผล.

9.สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง;
สัตว์ ที่ผุดขึ้นแล้วโตทันทีคือ
สัตว์นรก ยักษ์ เปรต เทวดา พรหม มีจริง

10. ในโลกนี้มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบซึ่ง
ประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่

*สัมมาทิฏฐิเบื้องปลายมี4ประการ คือ

1. ความรู้ในทุกข์; ยึดในขันธ์5

2. ความรู้ในทุกข์สมุทัย; อยากในตัณหา3

3. ความรู้ในทุกข์นิโรธ;หยุดอยากในตัณหา3

4. ความรู้ในนิโรธคามินี ปฏิปทา; ภาวนาในมรรค8

  นับคำข้าว
(แหวน/ว/บ่อ)8/8/59
ช : กัด   13   คำ
ท : แก้ม 16   คำ
กล่าวคำอธิฐานหลังบุญกา
สาธุ สาธุ สาธุ

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บุญ10 (1/8/59)

 #   ว. ฟังธรรม
(ชาดก ใน # อ.แสดงธรรม)
เรื่อง  โลภมากลาภหาย

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุณี ชื่อ ถูลนันทา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฐพฺพํ ดังนี้.

ความพิสดารว่า อุบาสกคนหนึ่งในพระนครสาวัตถี ปวารณากระเทียมกับภิกษุณีสงฆ์ไว้ และสั่งเสียคนเฝ้าไร่ไว้ด้วยว่า ถ้าภิกษุณีทั้งหลายพากันมาเอา จงให้ไปรูปละ ๒-๓ ห่อ.

จำเดิมแต่นั้น ภิกษุณีทั้งหลายต้องการกระเทียม ก็พากันไปที่บ้านของเขาบ้าง ที่ไร่ของเขาบ้าง ครั้นถึงวันมหรสพวันหนึ่ง กระเทียมในเรือนของเขาหมด ภิกษุณีถูลนันทาพร้อมด้วยบริวาร พากันไปที่เรือนแล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ

ฉันต้องการกระเทียม คนรักษากล่าวว่า กระเทียมไม่มีเลยพระแม่เจ้า กระเทียมที่เก็บตุนไว้หมดเสียแล้ว นิมนต์ไปที่ไร่เถิดขอรับ จึงพากันไปที่ไร่ ขนกระเทียมไปอย่างไม่รู้ประมาณ คนเฝ้าไร่จึงกล่าวโทษว่า เป็นอย่างไรนะ พวกภิกษุณีจึงขนกระเทียมไป อย่างไม่รู้จักประมาณ.

ฟังคำของเขาแล้ว พวกภิกษุณีที่มีความปรารถนาน้อย พากันยกโทษ พวกภิกษุเล่า ครั้นได้ยินจากภิกษุณีเหล่านั้น ก็พากันยกโทษ ครั้นแล้วก็กราบทูลความนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตำหนิภิกษุณีถูลนันทาแล้วทรงแสดงธรรมที่เหมาะกับเรื่องนั้นแก่นางภิกษุณีทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า บุคคลผู้มีความปรารถนาใหญ่ มิได้เป็นที่รัก เจริญใจ

แม้แก่มารดาบังเกิดเกล้า ไม่อาจจะยังผู้ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ไม่อาจจะยังผู้ที่เลื่อมใสแล้วให้เลื่อมใสยิ่ง

ขึ้น ไม่อาจยังลาภที่ยังไม่เกิดให้บังเกิด หรือลาภที่เกิดแล้ว ก็ไม่อาจกระทำให้ยั่งยืนได้

ตรงกันข้าม ผู้ที่มีความปรารถนาน้อย ย่อมอาจยังลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิด

ที่เกิดแล้วก็ทำให้ยั่งยืนได้ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุณีถูลนันทา มีความปรารถนาใหญ่ แม้ในครั้งก่อนก็เคยมีความปรารถนาใหญ่

เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์สกุล

หนึ่ง เมื่อเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาได้ตบแต่งให้มีภรรยามีชาติเชื้อ

พอสมควรกัน ได้มีธิดา ๓ คน ชื่อนันทา นันทวดีและสุนันทา ครั้นธิดาเหล่านั้นได้สามีไปแล้วทุกคน พระโพธิสัตว์ก็ทำกาละไปเกิดในกำเนิด

หงส์ทอง และมีญาณระลึกชาติได้อีกด้วย หงส์ทองนั้นเติบใหญ่แล้ว

เห็นอัตภาพอันเติบโตสมบูรณ์งดงามเต็มไปด้วยขนที่เป็นทอง ก็นึกว่า เราจุติจากไหนหนอ จึงมาบังเกิดในที่นี้ ทราบว่า จากมนุษยโลก พิจารณาอีกว่า พราหมณีและเหล่าธิดาของเรา ยังมีชีวิตอยู่หรืออย่างไร ก็ได้ทราบว่า ต้องพากันไปรับจ้างคนอื่น

เลี้ยงชีพด้วยความแร้นแค้น จึงคิดว่า ขนทั้งหลายในสรีระของเราเป็นทองทั้งนั้น ทนต่อการตีการเคาะ เราจักให้ขนจากสรีระนี้แก่นางเหล่านั้น ครั้งละหนึ่งขน ด้วยเหตุนั้น ภรรยาและธิดาทั้ง ๓ ของเรา จักพากันอยู่อย่างสุขสบาย

พระยาหงส์ทองจึงบินไป ณ ที่นั้น

เกาะที่ท้ายกระเดื่อง พราหมณีและธิดาเห็นพระโพธิสัตว์แล้ว ก็พากันถามว่า พ่อคุณมาจากไหนเล่า? หงส์ทองตอบว่า เราเป็นบิดาของพวกเจ้า ตายไปเกิดเป็นหงส์ทอง มาเพื่อจะพบพวกเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ไป

พวกเจ้าไม่ต้องไปรับจ้างคนอื่นเขาเลี้ยง

ชีวิตอย่างลำบากอีกละ เราจักให้ขนแก่พวกเจ้าครั้งละหนึ่งขน จงเอาไปขายเลี้ยงชีวิตตามสบายเถิด แล้วก็สลัดขนไว้ให้เส้นหนึ่งบินไป หงส์ทองนั้นมาเป็นระยะๆ สลัดขนให้ครั้งละหนึ่งขน โดยทำนองนี้ พราหมณีและลูกๆ ค่อยมั่งคั่งขึ้น มีความสุขไปตามๆ กัน

อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณีปรึกษากับลูกๆ

ว่า แม่หนูทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าเดียรัจฉานรู้ใจได้ยาก ในบางครั้งบิดาของเจ้าไม่มา ที่นี่ พวกเราจักทำอย่างไรกัน คราวนี้เวลาเขามา

พวกเราช่วยกันจับถอนขนเสียให้หมด

เถิดนะ พวกลูกสาวพากันพูดว่า ทำอย่างนั้นบิดาของพวกเรา จักลำบาก ต่างก็ไม่เห็นด้วย

แต่นางพราหมณีเพราะมีความปรารถนา

ใหญ่ ครั้นวันหนึ่ง เวลาพระยาหงส์ทองมา ก็พูดว่า มานี่ก่อนเถิดนายจ๋า พอพระยาหงส์ทองนั้นเข้าไปใกล้ ก็จับไว้ด้วยมือทั้งสอง ถอนขนเสียหมด แต่เพราะจับถอนเอาด้วยพลการ พระโพธิสัตว์มิได้ให้โดยสมัครใจ ขนเหล่านั้นจึงเป็นเหมือนขนนกยางไปหมด พระโพธิสัตว์ไม่สามารถจะกางปีกบินไปได้ นางพราหมณีจึงจับเอาพระยาหงส์ทองใส่

ตุ่มใหญ่เลี้ยงไว้ ขนที่งอกขึ้นใหม่ของพระยาหงส์นั้น กลายเป็นขาวไปหมด พระยาหงส์นั้น ครั้นขนขึ้นเต็มที่แล้ว ก็โดดขึ้นบินไปที่อยู่ของตนทันที แล้วก็ไม่ได้มาอีกเลย.

พระศาสดาทรงนำเอาเรื่องในอดีตนี้มา

สาธกแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ถูลนันทามีความ

ปรารถนาใหญ่ แม้ในครั้งก่อน ก็มีความปรารถนาใหญ่เหมือนกัน และเพราะมีความปรารถนาใหญ่ จึงต้องเสื่อมจากทอง บัดนี้เล่า

เพราะเหตุที่ตนมีความปรารถนาใหญ่นั่น

แหละ จักต้องเสื่อมแม้แต่กระเทียม เพราะฉะนั้น ตั้งแต่บัดนี้ จักไม่ได้เพื่อจะฉันกระเทียม แม้นางภิกษุณีที่เหลือทั้งหลายผู้อาศัย

ถูลนันทานั้น ก็จักไม่ได้เพื่อฉันกระเทียม เหมือนอย่างถูลนันทาเช่นกัน เหตุนั้นแม้จะได้มาก ก็จักต้องรู้จักประมาณทีเดียว แต่ได้น้อย ก็ต้องพอใจตามที่ได้เท่านั้น ไม่ควรปรารถนาให้ยิ่งขึ้นไป แล้วตรัสคาถานี้ความว่า

"บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น เพราะความโลภเกินประมาณ ชั่วนัก นางพราหมณีจับพญาหงส์เสียแล้ว จึงเสื่อมจากทอง" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุฏฺฐพฺพํ แปลว่า พึงยินดี.

ก็พระศาสดา ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้ แล้วทรงติเตียนโดยอเนกปริยาย แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็นางภิกษุณีรูปใดฉันกระเทียม, ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้แล้วประชุมชาดก ว่า

นางพราหมณีในครั้งนั้น ได้มาเป็น ภิกษุณีถูลนันทา,

ธิดาทั้งสามได้มาเป็นพี่น้องหญิงในบัดนี้,

ส่วนพระยาสุวรรณหงส์ ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka500.php?s=136

-------------------------------------------------

# กา.

*ทำความเห็นถูกตรง สัมมาทิฏฐิ
ทั้งเบื้องต้น ข้อ 1,2,4,7,8
และสัมมาทิฏฐิเบื้องปลายทั้ง4 ข้อ

ทำความเห็นถูกตรงสัมมาทิฏฐิ
   เบื้องต้น10ประการ คือ

1.ทานที่ให้แล้วมีผลให้ทานแก่   พวก14 ด้วยอามิสทาน อภัยทายและธรรมทานเพื่อ
ปรุงแต่งจิตมีผลดีจริง

2.  ยัญที่บูชาแล้วมีผล;บูชาบุคลที่ประพฤติสุจริต 3 ด้วยอามิสบูชา

3. การเซ่นสรวงดีมีผล;บวงสรวงแก่แขก ญาติ เทว
ราช เปรต เพื่อเสริม กำลังเรา
มีผลดี

4. ผลคือวิบากของกรรมที่ทำดี
และทำชั่วมีแน่

5.  โลกนี้มีจริง::
--->เชื่อว่าผู้ที่จะมาเกิด
ในโลกนี้มีจริง

6.  โลกหน้ามีจริง::
---->เชื่อว่ายังเวียนว่ายอยู่จะต้อง
เกิดใหม่ในโลกหน้าและ รับผลกรรมที่ทำ ไว้ในโลกนี้

7.  มารดามี ;มีบุญคุณต้องตอบแทนการทำดีทำชั่วต่อมารดา ย่อมจะได้รับผล.

8.  บิดามี;มีบุญคุณต้องตอบแทนการทำดี
ทำชั่วต่อบิดา ย่อมได้รับผล.

9.สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง;
สัตว์ ที่ผุดขึ้นแล้วโตทันทีคือ
สัตว์นรก ยักษ์ เปรต เทวดา พรหม มีจริง

10. ในโลกนี้มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบซึ่ง

ประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่

*สัมมาทิฏฐิเบื้องปลายมี4ประการ คือ

1. ความรู้ในทุกข์; ยึดในขันธ์5

2. ความรู้ในทุกข์สมุทัย; อยากในตัณหา3

3. ความรู้ในทุกข์นิโรธ;หยุดอยากในตัณหา3

4. ความรู้ในนิโรธคามินี ปฏิปทา; ภาวนาในมรรค8

  นับคำข้าว
(ก/ว/บ่อ)1/8/59
ช : กัด   13  คำ
ท :แก้ม  16  คำ
กล่าวคำอธิฐานหลังบุญกา
สาธุ สาธุ สาธุ