วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

มะกล่ำตาหนู

... เอมอร  อินทศร ..
๒๒  ตุลาคม  ๒๕๕๙

ขอน้อมกราบพระอาจารย์เจ้าค่ะ
และสวัสดี พี่ๆคุณครู ทุกท่านค่ะ

วันนี้เรื่อง สมุนไพรนำมาฝากค่ะ
ก่อนอื่นคือ ช่วงนี้มีลูกค้าที่มาชื้อยาที่บ้าน
แล้วใบสั่งยา ที่ลูกค้านำมาซื้อนั้นใน
สูตรยา มี เมล็ดมะกล่ำตาหนู ลูกค้าระบุว่า เอา50เมล็ด ..โห้ !  ตกใจมากเลย ชักเรื่องสูตรยา ว่าได้มายังไงค่ะ สรุปคือเขาบอกมาอีกที ...และที่สำคัญคือ มีใบยามาซื้อหลายคนมากค่ะ  ...เลยนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
ถึงความอันตรายของเมล็ดมะกล่ำตาหนู...
บางท่านคงจะ เคยได้เห็นมาบ้างแล้วค่ะ...

มะกล่ำตาหนู

เรียกในชื่ออื่น : กล่ำเครือ, กล่ำตาไก่, มะกล่ำเครือมะแค็ก, ไม้ไฟ, เกมกรอม, ชะเอมเทศตากล่ำ, มะขามเถา, มะกล่ำแดง, มะแด๊ก, มะขามไฟ และตาดำตาแดง

จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว มีใบออกเป็นคู่รูปขนนก คล้ายใบมะขาม
8- 15 คู่ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะดอกมีสีม่วงออกขาว และชมพู ผลมีลักษณะเป็นฝักคล้ายถั่วลันเตา มี 3-5 เมล็ด ลักษณะเมล็ดกลมรีเล็กน้อย

ขนาดประมาณ 5-8 มิลลิเมตร สีแดงสดเป็นมัน มีสีดำตรงขั้วเมล็ด พบมากในเชีย โดยเฉพาะ จีน อินเดีย พม่า ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ลาว และประเทศไทย เป็นต้น

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

ต้มน้ำกินเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ไอ แก้หวัด หลอดลมอักเสบ และช่วยขับปัสสาวะได้

ใบสด มีรสหวาน ใช้ต้มกินแก้หวัด แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ปวดตามข้อ หรือ นำมาใบมาตำพอกบริเวณที่ปวดบวม

สารพิษ : ส่วนที่มีพิษจะพบในส่วนของเมล็ด ที่ประกอบด้วยสาร N-methyltryptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic enzyme และ abrin ส่วนของ abrin จะมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับสาร ricin เป็นสารที่ออกฤทธิ์เป็นพิษของเมล็ด ประกอบด้วย abrin A และ abrin  B

การออกฤทธิ์เมื่อเคี้ยวกินเมล็ดเข้าไป สาร abrin จะเข้าทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร และไต โดย abrin A และ abrin B จะออกฤทธิ์ในการยับยั้งการสังเคราะห์
โปรตีนของไรโบโซม

แต่สารนี้เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวง่าย และไม่คงทนเมื่อสัมผัสกับน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหาร ขนาดของพิษเมื่อใช้ abrin เพียง 0.1-1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือเพียง 1 เมล็ด ก็ทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง
หรือตาบอดได้

อาการได้รับพิษ
หากเป็นสาร abrin ที่มีการสังเคราะห์ อาจได้รับเข้าสู่ร่างกายด้วยการกิน การหายใจ และการสัมผัส แต่หากการได้รับพิษจากเมล็ดมะกล่ำตาหนู

มักพบได้รับพิษด้วยการกลืนกินเข้าสู่ร่าง
กาย ซึ่งจะแสดงอาการของพิษ ดังนี้

1. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร บางรายอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด รวมไปถึงอาการช็อคจากการเสียเลือด

2. ในระบบหัวใจ และหลอดเลือด จะมีผลกระทบทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ หากได้รับในปริมาณที่สูงอาจทำให้เกิด
ภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้

3. ระบบประสาท ทำให้มีอาการเพ้อ เหม่อลอย ระบบการรับสัมผัสช้า ไม่รู้สึกตัวหรือหมดสติ

4. เซลล์ของไตถูกทำลาย ปัสสาวะน้อย มีเลือดปะปนในปัสสาวะ

5. กล้ามเนื้ออ่อนแรง สั่น และมีอาการชัก เกร็ง กระตุก

การรักษา
การรักษาพิษจากมะกล่ำตาหนูยังไม่มียาที่สามารถรักษาพิษได้ หากได้รับพิษของ abrin หรือการกลืนกินมะกล่ำตาหนู ให้ปฏิบัติ ดังนี้

1. การได้รับด้วยการสัมผัสทางผิวหนังหรือ
เข้าตาเมื่อabrinถูกสัมผัสทางผิวหนังหรือ
เข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำทันที

2. การได้รับพิษด้วยการหายใจ
การหายใจเอา abrin เข้าสู่ทางเดินหายใจจะทำให้ปอดบวมน้ำได้ง่ายดังนั้นเมื่อได้รับพิษทางนี้ต้องให้
ผู้ป่วยอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้
สะดวก และรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

3. การได้รับพิษด้วยการกลืนกิน
การได้รับพิษจากการกลืนกินมักพบผู้ป่วยที่กินเมล็ดมะกล่ำตาหนู ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้รีบทำ
อาเจียนทันที พร้อมด้วยดื่มน้ำร้อน และทำอาเจียนควบคู่กัน หลังจากนั้นให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที

http://pipket12345.blogspot.com/2016/10/blog-post_21.html?m=1

เรื่องมะเขือ

… เอมอร อินทศร ...
๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙

น้อมกราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ
และสวัสดี พี่ๆและคุณครู ปญย ทุกท่านค่ะ

วันนี้นำเรื่องมะเขือ มาฝากให้อ่านค่ะ

มะเขือยาว อุดมด้วยไบโอฟลาโวนอยด์ สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจโคโรนารี มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น

ควรกินมะเขือยาวเป็นประจำ จะทำให้อาการโรคดังกล่าวทุเลาลงหรือหายได้มะเขือยาว สามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมาย อาทิ หั่นบางๆชุบไข่ทอด /ย่างลอกเปลือกนำมาผัดเต้าเจี้ยว-ใบโหระพา /ย่างกินกับน้ำพริก /หรือใส่ผสมในน้ำพริกหนุ่ม เป็นต้น

สรรพคุณ
- ผล มีคุณสมบัติเย็น รสหวาน รักษาผิวหนังเป็นแผล ริดสีดวงมีเลือดออก เป็นฝีบวมแดง แก้ปวด

- ดอก แก้ปวดฟัน

- ราก มีคุณสมบัติเย็นมาก รสหวานเผ็ด แก้เหน็บชา แก้ปวดฟัน บิดเป็นมูกเลือดเรื้อรัง

ตำรับยา :
1. เท้าเปื่อยเรื้อรัง ใช้เปลือกผิวมะเขือยาวสีม่วงสด พอกบริเวณที่เป็นวันละ 1-2 ครั้ง ระยะแรกจะมีอาการมากขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์จะค่อยๆหาย

2. ฝี ใช้มะเขือยาวตำให้ละเอียดใส่น้ำส้มสายชูลงไป เอาไปพอกบริเวณฝี จะลดอาการอักเสบ และแก้ปวดได้

3. ปวดส้นเท้า ใช้ต้นหรือราก หรือใบต้ม เอาน้ำล้างบริเวณที่ปวด

4. ท้องเสีย ใช้ใบประมาณ 10 ใบต้มกินน้ำ

******* *******
มะเขือยาว อุดมด้วยไบโอฟลาโวนอยด์ สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจโคโรนารี มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น

ควรกินมะเขือยาวเป็นประจำ จะทำให้อาการโรคดังกล่าวทุเลาลงหรือหายได้มะเขือยาว สามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมาย อาทิ หั่นบางๆชุบไข่ทอด /ย่างลอกเปลือกนำมาผัดเต้าเจี้ยว-ใบโหระพา /ย่างกินกับน้ำพริก /หรือใส่ผสมในน้ำพริกหนุ่ม เป็นต้น

สรรพคุณ
- ผล มีคุณสมบัติเย็น รสหวาน รักษาผิวหนังเป็นแผล ริดสีดวงมีเลือดออก เป็นฝีบวมแดง แก้ปวด

- ดอก แก้ปวดฟัน

- ราก มีคุณสมบัติเย็นมาก รสหวานเผ็ด แก้เหน็บชา แก้ปวดฟัน บิดเป็นมูกเลือดเรื้อรัง

ตำรับยา :
1. เท้าเปื่อยเรื้อรัง ใช้เปลือกผิวมะเขือยาวสีม่วงสด พอกบริเวณที่เป็นวันละ 1-2 ครั้ง ระยะแรกจะมีอาการมากขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์จะค่อยๆหาย

2. ฝี ใช้มะเขือยาวตำให้ละเอียดใส่น้ำส้มสายชูลงไป เอาไปพอกบริเวณฝี จะลดอาการอักเสบ และแก้ปวดได้

3. ปวดส้นเท้า ใช้ต้นหรือราก หรือใบต้ม เอาน้ำล้างบริเวณที่ปวด

4. ท้องเสีย ใช้ใบประมาณ 10 ใบต้มกินน้ำ

******* *******
http://pipket12345.blogspot.com/2016/10/blog-post_11.html?m=1