วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

กรรมฐาน

Piengjai Sutthirugsa10 พฤษภาคม 9:25
คุณlut ค่ะ ขอถามเพื่อความรู้นะคะ...การนับคำข้าว เป็นกรรมฐานใช่มั้ยคะ แล้วการสวดมนต์เป็นมั้ยคะ หญิงยังรู้น้อยมาก ขอคำแนะนำด้วยนะคะ
Iut Tui10 พฤษภาคม 12:57
ทั่วไปแล้ว
คนมักวางท่า ว่าตนรู้ทั้งที่ตนไม่รู้

แต่ ญ.Pieng กล้าบอกว่า ยังรู้น้อยมาก และขอความรู้

จึงต้องขออนุโมทนาในความเป็นปราชญ์ ด้วย สุ จิ* ปุ *ลิ ที่ท่านมี

ขอตอบเท่าที่พอมีค.รู้อย่าง ย่อ ไว้ก่อนจะกลับมาตอบแบบ อธิบาย ด้วยยังมีงานเฉพาะหน้าค้างอยู่

กรรมฐานนั้นมีมากมาย แล้วแต่มุมมอง แล้วแต่จริตนิสัยของแต่ละคน
เบื้องต้น ศ.ษ กรรมฐาน 40 ก่อนก็ได้ มี4 หมวดหลักคือ
ศพ10
กสิณ10
อนุสติ10
เบ็ดเตล็ด อีก 10
ทั้งหมดนี้ใช้สมถะ นำวิปัสสนา

การสวดมนต์ เป็นการระลึกถึง พระพุทธ/ธรรม/สงฆ์/จาคะ/ศีล/เทวดา/กาย/ลมหายใจ/ความตาย และ สุดท้ายคือนึกถึงนิพพานเป็นอารมณ์
สวดมนต์เป็นกรรมฐาน แต่ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของบทสวดว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

การนับคำข้าวเป็นการระลึกรู้หรื
การตั้งสติไว้กับการเคลื่อนไหวกายอยู่ใน
สติปัฏฐาน4 หมวดกาย ย่อยในสัมปชัญญะบรรพ
โดยสุดท้ายต้องจบที่พิจารณาเห็นว่า
กายนี้เป็นไตรลักษณ์ ไม่น่ายึดไว้ด้วยชอบใจ
เพราะมันไม่ใช่ตัวตนอะไร
มันเป็นของเสื่อมเท่านั้นเอง คือจบที่วิปัสสนา

ก่อนเจริญกรรมฐานสิ่งแรกที่ต้องรู้
ไม่ใช่เพียงเห็นเขาแล้วเอาอย่าง
มันย่อมไม่มีทางจะได้ดี
เพราะต่างคน ต่างมีจริตที่ต่างกัน

สิ่งที่ควรรู้คือตัวฉัน นั้นมีจริตอย่างไรกัน
เมื่อรู้แล้วก็จับไว้ให้มั่น ว่ากรรมฐานนั้นๆ
เหมาะดีแล้ว กับ จริต และวิธีคิดของเรา
Piengjai Sutthirugsa10 พฤษภาคม 14:42
สาธุค่ะ...ขอบคุณมากๆนะคะที่ได้สละเวลาให้ความรู้ จะพยายามทำความเข้าใจและหาอ่านเพิ่มค่ะ
เราจะรู้ได้ยังไงค่ะว่า เรามีจริตแบบใด
Iut Tui11 พฤษภาคม 6:32
ลองค้นคำว่า จริต๖
เพื่อห็นภาพรวมก่อน จะง่ายขึ้นต่อความเข้าใจ

พระอรหันต์ท่านก็ผิดได้
เพราะท่านไม่ใช่สัพพัญญู
ซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียว ในศาสนานี้

แม้ท่านจะได้รางวัลที่ตัวแทนโลกแต่งตั้งให้ ก็อย่าเพิ่งรีบเชื่อ เพราะโลกยิ่งไม่รู้เรื่องธรรม ยิ่งมาจากต่างศาสนายิ่งแล้วไปใหญ่เลย

ราคะ คือราคะ ไม่ใช่โลภะอย่างที่บางท่านแปล
ไม่อร่อยแต่ยังกินต่อ คือโลภะ
ไม่อร่อย เลิกกินเลย คือ ราคะจริต
อย่าคิดว่า เหมือนกัน
ชอบใช้คำว่า ไวพจน์
ที่จริง คือไม่เข้าใจความจริง เพราะ ไม่ละเอียดพอจะเข้าใจ หากความหมายเหมือนกันแล้วจะทรงตรัส คำที่แตกต่างกันเพื่อประโยชน์อะไร?

อย่าเพิ่งเชื่อ .ข้อความนี้.
หากยังไม่ได้พิจารณาให้ดีพอ
Sroikaew Phromsungnoen11 พฤษภาคม 10:56
สมาธิภาวนา

๏ จริต 6 ๏

คำว่าจริยา หมายถึงลักษณะอันเป็นพื้นฐานของจิต หรือนิสัยอันเป็นพื้นเพของบุคคลแต่ละคน
คำว่าจริต ใช้เรียกบุคคลที่มีจริยาอย่างนั้นๆ เช่น คนมีโทสจริยา เรียกว่า โทสจริต

จริตนั้นแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 6 ประเภท หรือ 6 จริต คือ

๑.ราคจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางราคะ รักสวยรักงาม ละมุนละไม ชอบสิ่งที่สวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อยๆ สัมผัสที่นุ่มละมุน และจิตใจจะยึดเกาะกับสิ่งเหล่านั้นได้เป็นเวลานานๆ
๒.โทสจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโทสะ ใจร้อน วู่วาม หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง โผงผาง เจ้าอารมณ์
๓.โมหจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโมหะ เขลา เซื่องซึม เชื่อคนง่าย งมงาย ขาดเหตุผล มองอะไรไม่ทะลุปรุโปร่ง
๔.วิตักกจริต หรือวิตกจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางฟุ้งซ่าน คิดเรื่องนี้ทีเรื่องนั้นที เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่สามารถยึดเกาะกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
วิตก แปลว่าการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือการเพ่งจิตสู่ความคิดในเรื่องต่างๆ ไม่ได้หมายถึงความกังวลใจ วิตกจริตจึงหมายถึง ผู้ที่เดี๋ยวยกจิตสู่เรื่องโน้น เดื๋ยวยกจิตสู่เรื่องนี้ ไม่ตั้งมั่น ไม่มั่นคงนั่นเอง
๕.ศรัทธาจริต หรือสัทธาจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางศรัทธา น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสได้ง่าย ซึ่งถ้าเลื่อมใสในสิ่งที่ถูกก็ย่อมเป็นคุณ แต่ถ้าไปเลื่อมใสในสิ่งที่ผิดก็ย่อมเป็นโทษต่างจากโมหจริตตรงที่โมหจริตนั้นเชื่อแบบเซื่องซึม ส่วนศรัทธาจริตนั้นเชื่อด้วยความเลื่อมใส เบิกบานใจ
๖.ญาณจริต หรือพุทธิจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางชอบคิด พิจารณาด้วยเหตุผลอย่างลึกซึ้ง ชอบใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่เชื่ออะไรโดยไม่มีเหตุผล

โดยความเป็นจริงแล้ว คนเรามักมีจริตมากกว่า 1 อย่างผสมกัน เช่น ราคโทสจริต ราคโมหจริต โทสโมหจริต ราคโทสโมหจริต สัทธาพุทธิจริต สัทธาวิตกจริต พุทธิวิตกจริต สัทธาพุทธิวิตกจริต เป็นต้น เมื่อรวมกับจริตหลัก 6 ชนิด จึงได้เป็นบุคคล 14 ประเภท หรือ 14 จริต

ซึ่งบุคคลแต่ละจริตก็เหมาะที่จะทำกรรมฐานแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป
Sroikaew Phromsungnoen11 พฤษภาคม 12:55
ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต
นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง

อสุภกรรมฐาน 10
อนุสสติกรรมฐาน 10
กสิณ 10
อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
จตุธาตุววัฏฐาน 1
พรหมวิหาร 4
อรูป 4
แบ่งกรรมฐาน 40 ให้เหมาะแก่จริต

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง ความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ว่า เมื่อใดอารมณ์จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป กรรมฐาน 40 กองที่ท่านได้จำแนกไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตมีดังนี้

1. ราคจริต
ราคจริตนี้ กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน 10 กับกายคตนานุสสติ 1 เมื่ออารมณ์รักสวยรักงามเกิดขึ้นแก่อารมณ์จิต จิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์ เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุที่ชมชอบว่าสวยงดงาม กลายเป็นของน่าเกลียดโสโครกโดยกฎของธรรมดา จนจิตใจไม่มั่วสุมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา

2. โทสจริต
คนมักโกรธ หรือขณะนั้นมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ท่านให้เอากรรมฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 วัณณกสิณ 4 (วัณณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ เลือกที่เหมาะสมมาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะจะค่อย ๆ คลายตัวระงับไป

3. โมหะ และ วิตกจริต
อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลง และครุ่นคิดตัดสินใจไม่ค่อยได้นั้น ท่านให้เจริญอานาปานานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงฟุ้งซ่านก็จะสงบระงับไป

4. สัทธาจริต
ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ ท่านให้เจริญกรรมฐาน 6 อย่าง คือ อนุสสติ 6 ประการ คือ

พุทธานุสสติกรรมฐาน
ธัมมานุสสติกรรมฐาน
สังฆานุสสติกรรมฐาน
สีลานุสสติกรรมฐาน
จาคานุสสติกรรมฐาน
เทวตานุสสติกรรมฐาน

ทั้ง 6 อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส
5. พุทธิจริต
คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ มีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน 4 อย่าง

มรณานุสสติกรรมฐาน
อุปมานุสสติกรรมฐาน
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัฏฐาน
กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง 6 ท่านจัดไว้เป็น 5 หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้น ๆ รวม 30 อย่าง หรือ 30 กอง ที่เหลืออีก 10 กอง คือ อรูป 4 ภูตกสิณ 4(ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ) และอาโลกกสิณ 1 อากาสกสิณ 1 รวมเป็น 10 อย่าง ซึ่งเป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริตทุกอย่าง แต่สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ ฌาน 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นผลสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่เพราะอรูปละเอียดเกินไป
Sroikaew Phromsungnoen11 พฤษภาคม 12:55
การเลือกกรรมฐานให้เหมาะสมกับจริต
avatar
ooo


การเลือกกรรมฐานให้เหมาะสมกับจริต

(จากพระอภิธรรมศึกษา โชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

ต้องพิจารณาว่าอุปนิสัยของขเงเรามีความโน้มเอียงหรือหนักไปทางใดมากที่สุด มีหลักพิจารณาดังนี้

1. ราคจริต เป็นประเภท รักสวยรักงาม ยืน เดินละมุน ละไม ไม่รีบร้อน พิถีพิถันแต่งตัวเครื่องประดับ ชอบบริโภคอาหารรสกลมกล่อม ประณีตและหวาน ทำการใดๆก็ไม่รีบ แต่เรียบร้อยมีระเบียบ

2. โทสจริต มีนิสัยหนักไปทางโทสะ ใจร้อน หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง ทำการงานสะอาด แต่ไม่ค่อยเรียบร้อยปราณีต ชอบอาหารรสจัด เดินเร็ว ฝีเท้าหนัก ชอบวิวาท ยอมหักไม่ยอมงอ

3.โมหจริต นิสัยหนักไปทางโมหะ เชื่อคนง่าย ตื่นข่าวลือ งมงาย ไม่กระปรี้กระเปร่า เหม่อลอย ท้อถอย ไม่ค่อยสะอาดเรียบร้อย ชอบเผลอสติ

4.สัทธาจริต นิสัยนักไปทางศรัทธา เลื่อมใสง่าย ไม่มีมารยาสาไถย เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ครูอาจารย์

5.วิตกจริต นิสัยหนักไปทางวิตกกังวล ย้ำคิด ฟุ้งซ่าน วาดวิมานในอากาศ กลัวล่วงหน้าทั้งที่เหตุการณ์ยังไม่มาถึง

6.พุทธิจริต นิสัยหนักไปทางชอบใช้เหตุผล สติปัญญา ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ชอบศึกษาครุ่นคิด



กรรมฐานที่เหมาะกับจริต6

1. ราคจริต ควรเจริญ อสุภะ 10 และ กายคตสติ 32

2. โทสจริต ควรเจริญพรหมวิหาร 4 หรือ วรรณกสิณ4 ได้แ่ก่ กสิณาีแดง ขาว เขียว เหลือง

3. โมหจริต ควรเจริญอานาปานสติ

4.สัทธาจริต ควรเจริญ อนุสสติ 6

5. วิตกจริต ควรเจริญ อานาปานสติ (เช่นเดียวกับโมหะจริต)

6.พุทธิจริต ควรเจริญ มรณานุสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฎฐานและ อาหาเรปฎิกูลสัญญา

Sroikaew Phromsungnoen11 พฤษภาคม 12:56
ไม่ทราบจะตรงจุดประสงค์ของพระหรือไม่ อันนี้สั้นดี
มี สมถกรรมฐาน มี40อย่าง เกรงว่าจะยาวไป
แต่ หากพระประสงค์ จะนำมาลงได้ค่ะ

ผิดพลาดประการใด ดิฉันกราบขออภัยด้วยเจ้าค่ะ
Iut Tui11 พฤษภาคม 14:07
ดีมากเลยทีเดียว

สร้อยแก้ว

หากทำให้บางคนเข้าใจ เรื่องกรรมฐาน ได้เพิ่มขึ้น ธรรมทาน ในครั้งนี้ย่อมเป็นผลอย่างยิ่ง ย่อมมีคุณค่าอย่างสูงเลยทีเดียว

ขออนุโมทนา ด้วยนะ

แต่หากมีเนื้อความอีกจะค่อยๆ ทะยอยลง ให้ได้อ่านกัน
Iut Tui11 พฤษภาคม 14:08
ก็ยิ่งดีใหญ่ เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น