# ว. ฟังธรรม
(ชาดก ใน # อ.แสดงธรรม)
เรื่อง โทษที่เชื่อถือคำส่อเสียด
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
ทรงปรารภเปสุญญสิกขาบท จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เนว อิตฺถีสุ สามญฺญํ ดังนี้.
ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง พระศาสดาได้ทรงสดับว่า
ภิกษุฉัพพัคคีย์นำความส่อเสียดป้ายร้ายเข้าไปให้
จึงรับสั่งให้เรียกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนำความส่อเสียดป้ายร้ายเข้าไปให้
แก่พวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันจริงหรือ? เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญยิ่งขึ้น
เมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าวาจาส่อเสียดคมกล้า ประดุจประหารด้วยศาตรา ถึงความคุ้นเคยที่เหนียวแน่นมั่นคง ก็แตกสลายไปได้โดยรวดเร็ว เพราะวาจาส่อเสียดนั้น.
ก็แหละ ชนผู้เชื่อถือวาจาส่อเสียดนั้นแล้วทำลายไมตรีของตนเสีย ย่อมเป็นเช่นกับราชสีห์และโคผู้ทีเดียว.
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่
ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้า
พาราณสีนั้น เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนศิลปะในเมืองตักกสิลาเสร็จแล้ว เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว ได้ครองราชสมบัติโดยธรรม.
ครั้งนั้น นายโคบาลคนหนึ่งเลี้ยงโคทั้งหลายใน
ตระกูลทั้งหลาย เมื่อจะมาจากป่า ไม่ได้นึกถึงแม่โคตัวหนึ่งซึ่งมีครรภ์ จึงทิ้งไว้แล้วไปเสีย แม่โคนั้นเกิดความคุ้นเคยกับแม่ราชสีห์
ตัวหนึ่ง.
แม่โคและแม่ราชสีห์ทั้งสองนั้นเป็นมิตรกันอย่างมั่นคงเที่ยวไปด้วยกัน.
จำเนียรกาลนานมา แม่โคจึงตกลูกโค แม่ราชสีห์ตกลูกราชสีห์.
ลูกโคและลูกราชสีห์ทั้งสองนั้น ก็ได้เป็นมิตรกันอย่างเหนียวแน่นด้วยไมตรี ซึ่งมีมาโดยสกุล จึงเที่ยวไปด้วยกัน.
ครั้งนั้น พรานป่าคนหนึ่งเข้าป่าเห็นสัตว์ทั้งสองนั้น
คุ้นเคยกัน จึงถือเอาสิ่งของที่เกิดขึ้นในป่า แล้วไปเมืองพาราณสี ถวายแด่พระราชา อันพระราชาตรัสถามว่า สหาย ท่านเคยเห็นความอัศจรรย์อะไรๆ ในป่าบ้างไหม? จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ได้เห็นอะไรๆ อย่างอื่น แต่ได้เห็นราชสีห์ตัวหนึ่งกับโคผู้ตัวหนึ่ง สนิทสนมกันและกันเที่ยวไปด้วยกัน.
พระราชาตรัสว่า เมื่อสัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งสอง
เหล่านั้น ภัยจักบังเกิดมี เมื่อใดท่านเห็นสัตว์ตัวที่สามเพิ่มขึ้นแก่สัตว์ทั้งสองนั้น เมื่อนั้นท่านพึงบอกเรา.
นายพรานป่านั้นทูลรับว่า ได้พระเจ้าข้า.
ก็เมื่อพรานป่าไปเมืองพาราณสีแล้ว มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเข้าไปบำรุงราชสีห์
และโคผู้. นายพรานป่าไปป่าได้เห็นสุนัขจิ้งจอกนั้น คิดว่า จักกราบทูลความที่สัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้น
แล้วแก่พระราชา จึงได้ไปยังพระนครพาราณสี.
สุนัขจิ้งจอกคิดว่า เว้นเนื้อราชสีห์และเนื้อโคผู้เสีย ขึ้นชื่อว่าเนื้ออื่นที่เราไม่เคยกิน ไม่มี เราจักยุยงทำลายสัตว์ทั้งสองนี้แล้วกินเนื้อสัตว์ทั้งสองนี้.
สุนัขจิ้งจอกนั้นจึงยุยงสัตว์ทั้งสองนั้นให้ทำลายกันและกันโดยพูดว่า ผู้นี้พูดอย่างนี้กะท่าน ผู้นี้พูดอย่างนี้กะท่าน ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้ถึงแก่ความตายเพราะทำ
การทะเลาะกัน.
ฝ่ายพรานป่ามาถึงแล้ว กราบทูลแก่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ สัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้นแล้วแก่ราชสีห์และโคผู้เหล่านั้น พระราชาตรัสถามว่า สัตว์ตัวที่สามนั้น คืออะไร? พรานป่ากราบทูลว่า สุนัขจิ้งจอกพระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า สุนัขจิ้งจอกจักยุยงทำลายสัตว์ทั้งสอง
นั้นให้ตาย พวกเราจักไปทันในเวลาสัตว์ทั้งสองนั้น
จะตาย จึงเสด็จขึ้นทรงราชรถเสด็จไปตามทาง
ที่พรานป่าชี้แสดงให้ เสด็จไปทันในเมื่อสัตว์ทั้งสองนั้นทำการ
ทะเลาะกันและกันแล้ว ถึงแก่สิ้นชีวิตไป.
สุนัขจิ้งจอกมีใจยินดีกินเนื้อราชสีห์ครั้งหนึ่ง กินเนื้อโคผู้ครั้งหนึ่ง.
พระราชาทรงเห็นสัตว์ทั้งสองนั้นถึงความ
สิ้นชีวิตไปแล้ว ทรงประทับยืนอยู่บนรถนั่นแล.
เมื่อจะตรัสเจรจากับนายสารถี
จึงตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
ดูก่อนนายสารถี สัตว์ทั้งสองนี้ไม่ได้มีความเสมอกันเพราะ
สตรีทั้งหลาย ไม่ได้มีความเสมอกันเพราะอาหาร คือต่างก็มีสัตว์ตัวเมียและอาหารคนละชนิดไม่เหมือนกัน ภายหลัง เมื่อสุนัขจิ้งจอกยุยงทำลายความสนิทสนมจนถึงให้ตาย ท่านจงเห็นเหตุนั้นซึ่งฉันคิดไว้ถูกต้องแล้ว.
พวกสุนัขจิ้งจอกพากันกัดกินโคผู้และ
ราชสีห์ เพราะคำส่อเสียดใด คำส่อเสียดนั้น ย่อมเป็นไปถึงตัดมิตรภาพ เพราะเนื้อคือสุนัขจิ้งจอกเป็นเหตุ ดุจดาบคม ฉะนั้น.
ดูก่อนนายสารถี ท่านจงดูการนอนตายของสัตว์ทั้งสองนี้ ผู้ใดเชื่อถือถ้อยคำของคนส่อเสียด ผู้มุ่งทำลายความสนิทสนม ผู้นั้นจะต้องนอนตายอย่างนี้.
ดูก่อนนายสารถี นรชนเหล่าใดไม่เชื่อถือถ้อยคำของคนส่อ
เสียดผู้มุ่งทำลายความสนิทสนม นรชนเหล่านั้นย่อมได้ประสบสุข เหมือนคนไปสวรรค์ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว อิตฺถีสุ ความว่า ดูก่อนนายสารถีผู้สหาย สัตว์ทั้งสองนี้ไม่มีความเสมอกันในเพราะ
สตรี และในเพราะอาหาร เพราะราชสีห์ย่อมเสพสตรีเฉพาะอย่างหนึ่ง โคผู้ย่อมเสพสตรีอีกอย่างหนึ่ง คนละอย่าง.
อนึ่ง ราชสีห์ย่อมกินภักษาหารอย่างหนึ่ง และโคผู้ย่อมกินภักษาหารอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน.
ในบทว่า อถสฺส นี้ มีอธิบายว่า เมื่อเหตุที่จะทำให้ทะเลาะกันแม้จะไม่มีอยู่
อย่างนี้ ภายหลังสุนัขจิ้งจอกชาติชั่วตัวนี้ผู้ทำลาย
ความสนิทสนมกันฉันมิตร คิดว่า จักกินเนื้อของสัตว์ทั้งสอง จึงฆ่าสัตว์ทั้งสองนี้ ท่านจงเห็นดังที่เราคิดไว้ดีแล้ว.
ในบทว่า ยตฺถ นี้ ท่านแสดงความว่า เมื่อความส่อเสียดใดเป็นไปอยู่ พวกสุนัขจิ้งจอกผู้ฆ่าเนื้อ ย่อมเคี้ยวกินโคผู้และราชสีห์ ความส่อเสียดนั้นย่อมตัดมิตรภาพไปใน
เพราะเนื้อ เหมือนดาบอันคมกริบฉะนั้น.
ด้วยบทว่า ยมิมํ ปสฺสสิ นี้ ท่านแสดงว่า ดูก่อนสารถีผู้สหาย ท่านจงดูการนอนตายของสัตว์ทั้งสองเหล่านี้ บุคคลแม้อื่นใดรู้สึก คือเชื่อถือวาจาส่อเสียดของผู้ส่อเสียด
ผู้ทำลายความสนิทสนม บุคคลนั้นย่อมนอนเช่นนี้ คือตายอย่างนี้ทีเดียว.
บทว่า สุขเมธนฺติ ความว่า ย่อมประสบคือได้ความสุข.
บทว่า นรา สคฺคคตาริว ความว่า ชนเหล่านั้นย่อมประสบความสุข เหมือนนรชนผู้ไปสวรรค์พรั่งพร้อมด้วยโภคะอันเป็นทิพย์ฉะนั้น.
บทว่า นาวโพเธนฺติ ความว่า ย่อมสำรวมระวังจากสิ่งที่ไม่ใช่สาระแก่น
สาร คือได้ฟังคำแม้เช่นนั้นแล้วก็ทักท้วงให้สำ
นึก ไม่ทำลายไมตรี คงตั้งอยู่ตามปกติดังเดิม.
พระราชา ครั้นตรัสคาถานี้แล้ว รับสั่งให้เก็บเอาหนัง เล็บและเขี้ยวของไกรสรราชสีห์ แล้วเสด็จไปยังพระนครทีเดียว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสันธิเภทชาดกที่ ๙
http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270694
-------------------------------------------------
# กา.
*ทำความเห็นถูกตรง สัมมาทิฏฐิ
ทั้งเบื้องต้น ข้อ 1,2,4,6
และสัมมาทิฏฐิเบื้องปลายทั้ง4 ข้อ
ทำความเห็นถูกตรงสัมมาทิฏฐิ
เบื้องต้น10ประการ คือ
1.ทานที่ให้แล้วมีผลให้ทานแก่ พวก14 ด้วยอามิสทาน อภัยทายและธรรมทานเพื่อ
ปรุงแต่งจิตมีผลดีจริง
2. ยัญที่บูชาแล้วมีผล;บูชาบุคลที่ประพฤติสุจริต 3 ด้วยอามิสบูชา
3. การเซ่นสรวงดีมีผล;บวงสรวงแก่แขก ญาติ เทว
ราช เปรต เพื่อเสริม กำลังเรา
มีผลดี
4. ผลคือวิบากของกรรมที่ทำดี
และทำชั่วมีแน่
5. โลกนี้มีจริง::
--->เชื่อว่าผู้ที่จะมาเกิด
ในโลกนี้มีจริง
6. โลกหน้ามีจริง::
---->เชื่อว่ายังเวียนว่ายอยู่จะต้อง
เกิดใหม่ในโลกหน้าและ รับผลกรรมที่ทำ ไว้ในโลกนี้
7. มารดามี ;มีบุญคุณต้องตอบแทนการทำดีทำชั่วต่อมารดา ย่อมจะได้รับผล.
8. บิดามี;มีบุญคุณต้องตอบแทนการทำดี
ทำชั่วต่อบิดา ย่อมได้รับผล.
9.สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง;
สัตว์ ที่ผุดขึ้นแล้วโตทันทีคือ
สัตว์นรก ยักษ์ เปรต เทวดา พรหม มีจริง
10. ในโลกนี้มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่
*สัมมาทิฏฐิเบื้องปลายมี4ประการ คือ
1. ความรู้ในทุกข์; ยึดในขันธ์5
2. ความรู้ในทุกข์สมุทัย; อยากในตัณหา3
3. ความรู้ในทุกข์นิโรธ;หยุดอยากในตัณหา3
4. ความรู้ในนิโรธคามินี ปฏิปทา; ภาวนาในมรรค8
นับคำข้าว
(งบ/ย/บ่อ)25 /7/59
ช : กา 10 คำ
ท : กบ 15 คำ
กล่าวคำอธิฐานหลังบุญกา
สาธุ สาธุ สาธุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น