๑๒ ก.ค. ๕๙
กราบนมัสการพระอาจารย์
สวัสดีเพื่อนธรรมทุกท่านครับ
ขอส่งบุญ10 ข้อแสดงธรรม
อธิกรณวรรค
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด
ที่ ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็น
โจทก์ ยังมิได้พิจารณาตนด้วยตนเอง
ให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจัก
เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อการมีวาจา
หยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ
และภิกษุทั้งหลาย จักอยู่ไม่ผาสุก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์
ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้
เป็นโจทก์ พิจารณาตนด้วยตนเอง
ให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ว่า
จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ
จักไม่เป็นไปเพื่อการมีวาจาหยาบ
จักไม่เป็นไปเพื่อความร้ายกาจ
และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ต้อง
อาบัติ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเอง
ให้ดีอย่างไรคือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติ
ในธรรมวินัยนี้ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า
เราแลต้องอาบัติอันเป็นอกุศล
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเราผู้ต้อง
อาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยกายถ้าเราจะไม่พึง
ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยกาย ภิกษุนั้นก็จะไม่
พึงเห็นเราผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศล
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย
ก็เพราะเหตุที่เราต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย
ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเราผู้ต้องอาบัติ
อันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
กาย ก็แหละภิกษุนั้นครั้นเห็นเรา
ผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ
ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ชอบใจได้ว่ากล่าว
เราผู้มีวาจาไม่ชอบใจเราผู้มีวาจา
ไม่ชอบใจถูกภิกษุนั้นว่ากล่าวแล้ว
ย่อมไม่ชอบใจเมื่อไม่ชอบใจ ได้บอก
แก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้
จึงครอบงำ แต่เฉพาะเราคนเดียว
เท่านั้น เหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษ
ครอบงำ ผู้จำต้องเสียภาษี ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติ
ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีด้วย
ประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เป็นโจทก์
ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็น
โจทก์ในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียก
ดังนี้ว่า ภิกษุนี้แลต้องอาบัติอัน
เป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
กายแล้วฉะนั้นเราจึงได้เห็นภิกษุนี้
ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยกายถ้าภิกษุนี้จะไม่พึง
ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยกายเราจะไม่พึง
เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศล
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแต่เพราะ
เหตุภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศล
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายเราจึง
ได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย
ก็แหละเราครั้นได้เห็นภิกษุนี้ต้อง
อาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง
ด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ
เราเมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจได้ว่ากล่าว
ภิกษุนี้ผู้มีวาจาไม่ชอบใจ ภิกษุนี้มี
วาจาไม่ชอบใจ เมื่อถูกเราว่ากล่าว
อยู่เป็นผู้ไม่ชอบใจ เมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำแต่เฉพาะเรา
คนเดียวเท่านั้นเหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษครอบงำผู้จำต้องเสียภาษี ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้เป็นโจทก์
ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีด้วย
ประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ
และภิกษุผู้เป็นโจทก์ ยังไม่ได้พิจารณา
ตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น
พึงหวังได้ว่าจักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความมีวาจาหยาบคาย เพื่อความ
ร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ส่วนในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ
และภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนด้วย
ตนเองให้ดีในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้
ว่าจักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ จักไม่เป็นไปเพื่อความมีวาจาหยาบคาย จักไม่เป็นไปเพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก ฯ
ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่ง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่สม่ำเสมอ
คือ ประพฤติเป็นอธรรม สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึง
อบาย ทุคติวินิบาต นรก ฯ
พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บาง
พวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
ภ. ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติสม่ำเสมอ
คือ ประพฤติเป็นธรรม สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป
จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
แก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป
ฉะนั้นข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม
กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชานุสโสณี
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มีพระภาคตรัส
ตอบว่าดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป
จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บาง
พวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำ
ด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้า
ถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
ชา. ข้าพระองค์ย่อม ไม่รู้ทั่วถึง เนื้อความแห่งภาษิต ที่ท่านพระโคดมตรัส
แล้วโดยย่อได้โดยพิสดาร ขอประทาน
พระวโรกาส ขอท่านพระโคดมจงทรง
แสดงธรรมโดยที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึง
เนื้อความแห่งภาษิตที่ท่านพระโคดมตรัส
แล้วโดยย่อได้โดยพิสดารเถิด ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว
พราหมณ์ชานุสโสณีได้ทูลสนองพระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธวจนะ
ดังนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคน
ในโลกนี้ย่อมทำแต่กายทุจริต
มิได้ทำกายสุจริต ย่อมทำแต่วจีทุจริต
มิได้ทำวจีสุจริตย่อมทำแต่มโนทุจริต
มิได้ทำมโนสุจริต
ดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย
เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
ดูกรพราหมณ์ ส่วนบุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมทำแต่กายสุจริต
มิได้ทำกายทุจริต ย่อมทำแต่วจีสุจริต
มิได้ทำวจีทุจริต ย่อมทำแต่มโนสุจริต
มิได้ทำมโนทุจริต ดูกรพราหมณ์
เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตาย
ไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้นข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม
กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
อธิกรณวรรคที่ ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๓๗๔ - ๑๕๖๓. หน้าที่ ๖๐ - ๖๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=1374&Z=1563&pagebreak=0
กา. ทำความเห็นให้ถูกตรง
สัมมาทิฏฐิเบื้องต้น
๑. ทานที่ให้มีผลจริง
อภัยทาน
การไม่คิดที่จะเบียดเบียผู้อื่น
และสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นมีผลจริง
ธรรมทาน
การให้ธรรมมะเป็นทาน มีผลจริง
๒. บูชามีผลจริง
ทั้งการบูชาด้วยสิ่งของ
และการปฎิบัติตัว
๓. พลีมีผลจริง
เสริมกำลังเรา
( แขก,ญาติ,,เทว,ราช,เปรต)
๔. กรรมดีกรรมชั่วมีผลจริง
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
๕. โลกนี้มี
๖. โลกหน้ามี
ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ย่อมทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริตย่อมทำแต่มโนทุจริต
มิได้ทำมโนสุจริต ดูกรพราหมณ์
เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
๗.คุณมารดามีจริง
๘.คุณบิดามีจริง
๙.โอปปาติกะมีจริง
๑๐.พระอรหันต์ผู้สามารถรู้แจ้งนั้นมีจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น