กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ
สวัสดีพี่น้องเพื่อนธรรมทุกท่านค่ะ
ขออนุญาตน้อมนำส่งบุญกา ข้อแสดงธรรมค่ะ
อ.แสดงธรรม
:พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์:
๑๗๔ ความสำคัญของจิต
ปัญหา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่ง ที่ถือว่าจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธองค์ทรงสอนเกี่ยวกับการรักษาจิตไว้อย่างไรบ้าง?
พุทธดำรัสตอบ “.
.... ดูก่อนคฤหบดี เมื่อบุคคลรักษาจิตไว้ แม้กายกรรมก็เป็นอันรักษา แม้วจีกรรม... มนโนกรรมก็เป็นอันรักษา
เมื่อเขารักษากายกรรม วจีกรรม.... มโนกรรม แม้กายกรรมก็เป็นอันไม่ชุ่ม แม้วจีกรรม.... มโนกรรม... ก็เป็นอันไม่ชุ่ม
เมื่อเขามี กายกรรม..... วจีกรรม.... มโนกรรม..... ไม่ชุ่ม แม้กายกรรมก็เป็นอันไม่เสียแม้วจีกรรม.... มโนกรรมก็เป็นอันไม่เสีย
เมื่อเขามีกายกรรม วจีกรรม.... มโนกรรม ไม่เสีย ความตายก็เป็นการตายดี การทำกาละก็งาม
ดูก่อนคฤหบดี
เปรียบเหมือนเมื่อเรือนซึ่งมุงไว้เรียบร้อย
แม้ยอดเรือนก็เป็นอันรักษา
แม้ไม้กลอนฝาเรือน.... ก็เป็นอันรักษา แม้ยอดเรือนก็ไม่ถูกฝนรั่วรด
แม้ไม้กลอน ฝาเรือนก็ไม่ถูกฝนรั่วรด แม้ยอดเรือนก็เป็นของไม่ผุ
แม้ไม้กลอน ฝาเรือนก็เป็นของไม่ผุ....ฯ”
กูฏสูตร ที่ ๑ ติ. อํ. (๕๔๙)
ตบ. ๒๐ : ๓๓๕-๓๓๖ ตท. ๒๐ : ๒๙๓-๒๙๔
ตอ. G.S. I : ๒๔๐
http://www.84000.org/true/174.html
ตรงกับสัมมาทิฐิ เบื้องต้น ๑๐.พระอรหันต์พระพุทธเจ้าผู้สามารถรู้แจ้งเห็นจริงทั้งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้พ้นทุกข์มีอยู่จริง
สัมมาทิฏฐิ เบื้องปลาย
๑. ความรู้ในทุกข์ – ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ; ขันธ์๕ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ๕ อย่าง
ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ
วัฏสงสาร>กรรมเก่า - กรรมใหม่ ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่
ชาติ ชรา มรณะ ความทุกข์โทมนัส ความโศก ความคับแค้นใจ ความเวียนว่ายตาย เกิด ไม่มีที่สิ้นสุด
๒. ความรู้ในทุกข์สมุทัย -เหตุให้เกิดทุกข์ ; >กรรมเก่า กรรมใหม่ การเวียนว่ายในวัฏสงสาร คือการปรากฎขึ้นแห่งกองทุกข์ วิญญาณย่อมเข้าไปตั้งอาศัยใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร
ด้วยอำนาจแห่งนันทิและราคที่มีในนั้น >การเกิด>ภพใหม่ ความไม่รู้อริยสัจ4 ความอยากในตัณหา๓
๓. ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ;คือ ความดับแห่งกรรม ดับตัณหา๓
ความรู้ในอริยสัจ๔
๔. ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ทางดับทุกข์)
มัชฌิมาปฏิปทา อริยมรรคมีองค์๘ คือแนวทางแห่งการดับทุกข์
นับคำข้าว งก/ย/บ่อ -๒๑/๗/๕๙
ช-งา ๒๐
ท-งง ๒๒
กล่าวคำอธิษฐาน หลังการทำบุญกาฯลฯ
กราบ กราบ กราบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น