วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บุญกา ข้อแสดงธรรม ย-ย-บ่อ

กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ
สวัสดีพี่น้องเพื่อนธรรมทุกท่านค่ะ

ขออนุญาตน้อมนำส่งบุญข้อแสดงธรรม
วันพฤหัสบดีที่ ๗ กรกฎาคม พ.ค.๒๕๕๙

บุญกา ย-ย-บ่อ

อ.แสดงธรรม

:พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์:

๑๗๐ หัวใจศีลของพระ (๑๕๐)

ปัญหา ศีลของภิกษุมี ๒๒๗ ข้อ ถ้าภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง จะเป็นอันตรายแก่มรรคผลหรือไม่?

พุทธดำรัสตอบ
“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน (มีการสวดท่ามกลางสงฆ์ทุกกึ่งเดือน)
ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ นั้นเป็นไฉน

คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตสิกขา ๑ อธิปัญญสิกขา ๑ สิกขา ๓ นี้แล ที่สิกขาทบ ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด.....

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา

เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน
และเป็นผู้มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

เธอเป็นพระโสดาบัน... เป็นพระสกทาคามี... เป็นพระอนาคามี.... เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน....

ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จบางส่วนผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่าไม่เป็นหมันเลยฯ”

เลขสูตรที่ ๒ ติ. อํ. (๕๒๖)
ตบ. ๒๐ : ๒๙๗-๒๙๘ ตท. ๒๐ : ๒๖๑-๒๖๒
ตอ. G.S. I : ๒๑๑-๒๑๒

http://www.84000.org/true/170.html

            ตรงกับสัมมาทิฐิ เบื้องต้น ๑๐.พระอรหันต์พระพุทธเจ้าผู้สามารถรู้แจ้งเห็นจริงทั้งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้พ้นทุกข์มีอยู่จริง

              สัมมาทิฏฐิ เบื้องปลาย
     ๑. ความรู้ในทุกข์ – ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ;  ขันธ์๕ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ๕ อย่าง
ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ
วัฏสงสาร>กรรมเก่า - กรรมใหม่  ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่
ชาติ ชรา มรณะ ความทุกข์โทมนัส ความโศก ความคับแค้นใจ ความเวียนว่ายตาย เกิด ไม่มีที่สิ้นสุด

      ๒. ความรู้ในทุกข์สมุทัย -เหตุให้เกิดทุกข์ ; >กรรมเก่า กรรมใหม่ การเวียนว่ายในวัฏสงสาร คือการปรากฎขึ้นแห่งกองทุกข์ วิญญาณย่อมเข้าไปตั้งอาศัยใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร
ด้วยอำนาจแห่งนันทิและราคที่มีในนั้น  >การเกิด>ภพใหม่  ความไม่รู้อริยสัจ4 ความอยากในตัณหา๓  

     ๓. ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ;คือ  ความดับแห่งกรรม ดับตัณหา๓
ความรู้ในอริยสัจ๔

     ๔. ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ทางดับทุกข์)
มัชฌิมาปฏิปทา อริยมรรคมีองค์๘ คือแนวทางแห่งการดับทุกข์

นับคำข้าว ย/ย/บ่อ -๗/๗/๕๙

ช-กัด  ๑๓
ท-งา ๒๐

กล่าวคำอธิษฐาน หลังการทำบุญกาฯลฯ
กราบ กราบ กราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น