๑บรรพชิตจะรับเงินเอง ไม่ได้
๒ให้คนอื่นรับแทนไม่ได้
๓ยินดีในเงินที่ได้รับนั้นไม่ได้ ผิดวินัยทั้งหมด
วิธีปฏิบัติคือ
๑ ให้ถาม
พระที่เราต้องการจะถวายมูลค่าเพื่อปัจจัยที่สมควรแก่สมณะนั้นว่า
“ใครเป็นไวยาวัจกรของท่าน” ท่านก็จะบอกให้ว่าเป็นใคร เพราะ
ท่านก็จะไม่รู้ว่าโยมมีธุระอะไรกับไวยาวัจกรของท่าน
อาจจะเป็นฝากให้ประเคนอาหารในวันรุ่งขึ้น หรือ เภสัช ๕ถวายมากเกินกว่าใช้หมดใน ๗
วันจึงฝากไว้ให้ไวยาวัจกรเป็นผู้จัดถวายประเคนให้ในจำนวนที่เหมาะสม หรือ
อาจจะฝากต้นไม้ไว้ให้ไวยาวัจกรปลูก
พระก็ไม่มีทางรู้ว่าโยมมีธุระอะไรกับไวยาวัจกรของท่าน
การที่ท่านบอกไวยาวัจกรของท่านจึงไม่ได้หมายความว่า จงเอาเงินไปให้คนนั้นนะ
๒ ถ้าต้องการถวายมูลค่าปัจจัย(เงิน) ก็ให้นำไปฝากไว้ที่ไวยาวัจกรที่พระเป็นคนบอก
หรือเรารู้ว่าเป็นใครจะไปฝากไว้ให้คนนั้นเองเลยก็ได้
๓ กลับไปบอกบรรพชิต(พระ หรือ
เณร)นั้นว่าได้ฝากมูลค่าปัจจัยเพื่ออะไรก็ระบุได้ เช่น เพื่อเป็นค่าจีวร
หรือไม่ระบุก็ได้ (เพราะท่านอาจจะต้องการหนังสือ ปากกา นี่ไม่ใช่ ปัจจัย๔ อาหาร
ผ้า ยา ที่อยู่)ไว้ที่คนชื่อนั้นๆ
ดูเพิ่มเติมได้ในข้อ 10 นิสสัคคิยปาจิตตีย์
หมวดบาตร
ก็เป็นอันจบวิธีการถวายมูลค่าปัจจัย อย่างที่ควรจะเป็นแล้ว
ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเอาเงินไปให้พระโดยตรง
เราเคยได้ยินว่า พระทางเหนือ บางวัดท่านกินข้าวเย็นกัน แล้วก็บอกว่า
พระที่ไม่ฉันข้าวเย็นเป็นพวกอวดว่าตัวเองเคร่ง(เอากับท่านซิ ถ้าตัวเองเลว แปลว่าคนอื่นที่ทำดีเขาแกล้งทำ
อืมนะ)
แล้วเราก็ได้ยินมาอีกว่า พระที่ไม่รับเงินเป็นพวกอวดเคร่ง
เพราะตัวเองก็รับเงินเหมือนกันแค่ผ่านมือโยมเท่านั้น อันนี้เป็นไปเพื่ออวดชาวบ้าน
แต่พวกที่รับกับมือตรงเป็นพวก ปากกับใจตรงกัน ท่านดีกว่าคนที่ไม่รับเงินเสียอีก
(แบบนี้ก็มีนะ เทปท่านคนได้ยินไปทั่วประเทศ
ทำให้พระที่ทำตามพระวินัยได้รับสายตาว่า พวกตอแหล หลอกลวงชาวบ้าน)
อยากให้พวกเราได้มองในจุดนี้นะ
ว่าพระองค์ไม่ได้ห้ามเรื่องการเกี่ยวข้องกับเงินทอง
แต่พระองค์ทรงวางแนวทางปฏิบัติไว้ เพื่อ เงินจะได้ไม่อยู่กับพระ
พระก็จะไม่มีข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ว่าโจรเข้าห้องพระแล้วใช้มีดเสียบถึงตาย
หรือข่าวว่าพระซื้อยาบ้าเสพ ซื้อกาม
เพราะไม่ได้ถือเงินเองจึงต้องจัดหาข้าวของโดยมีโยมเป็นพยาน
ของที่หาจึงเป็นของที่ควร พวกบวชเพื่อหาช่องทำกินก็น้อยลง
โยมที่ศรัทธาในพุทธอยู่แล้วก็ศรัทธามากขึ้น ผู้ยังไม่ศรัทธาก็ศรัทธามากขึ้น
พวกเขาก็มีโอกาสฟังเรื่องที่ทรงสอนให้ผ่อนจากทุกข์ได้มากขึ้น ยังไงๆเราก็มั่นใจว่าถ้าไม่ดี
พระองค์ไม่ทรงให้ทำ ใครอยากรับก็เรื่องของเขา ไม่ต้องตำหนิ
เพราะเขาอาจจะเป็นพระอริยะแล้วก็ได้ ใครไปตำหนิเข้าเดี๋ยวจะหาเรื่องไปอบายซะเปล่า
พระอรหันต์ไม่ใช่ผู้ที่ทำอะไรทุกอย่างถูกต้องเสมอไปนะ อย่าเข้าใจอย่างนั้น
ไม่งั้นท่านคงไม่เป็นต้นบัญญัติให้พระองค์ทรงบัญญัติวินัยขั้นฟังทุกครึ่งเดือน
อย่างปาจิตตีย์หรอก เช่น นอนมุงบังเดียวกับหญิง เหาะเอาบาตร เป็นต้น
ท่านไม่ใช่แค่อรหันต์ธรรมดานะ แต่เป็น เอตทัคคะด้วย ดังนั้นพระที่ทำผิดก็อย่าไปตำหนิท่าน
ปล่อยท่านรับกรรมของท่านไป เราอย่าไปรับด้วย แต่ข้อสำคัญกว่า
เราอย่าได้สนับสนุนในเรื่องที่ผิดนั้นๆก็แล้วกัน เพราะถ้าท่านปิดอบายได้แล้ว
แต่เรายังไม่ได้ จะเหลือแต่เราไปอบายเพียงลำพัง ท่านไม่ไปด้วย
โดย พระตุ๋ย ชาคโร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น