วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ที่อยู่ของ..ผู้ลี้ภัย

Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 9:49
กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ
สวัสดีน้องน และเพื่อนๆธรรมทุกท่านค่ะ
ขอนำพระธรรม ที่พระตุ๋ย ได้ให้ไว้ในกลุ่มเพื่อนธรรม ไลน์ มาเผยแผ่ให้เพื่อนๆธรรมได้ศึกษาและได้ประโยชน์ด้วยกันค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 9:51
พระ
สร้อยแก้ว ได้คำตอบ
"ที่อยู่ของ..ผู้ลี้ภัย
รึยัง?"(ยิ้ม)

Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 9:51
กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ
ได้คุยกับน้องนถามเธอ น้องให้คำตอบว่า @พี่สร้อยแก้ว
ถ้ำหมี ที่อยู่ของผู้ลี้ภัย คำเฉลยอยู่ที่เหนือนิ้วมือ หมายความว่าอะไรคะ
ตอบ ที่อยู่ของพระตุ๋ยค่ะ
Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 9:52
พระ คำตอบถูก แต่อะไรเป็นเหตุให้ตอบอย่างนั้น
ลี้ภัยจากอะไร?

เพราะอะไรถึงเป็นที่นั่น?

นิ้ว สื่ออะไร?

เหนือนิ้ว หมายถึงอะไร?

ลองเอามาเล่าให้เพื่อนๆฟังแหม มันๆเนอะ (ขยิบตา)
Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 9:53
พระ
(ok)แล้วเรื่องนิ้วล่ะ ?
ทำไมถึงควรเป็นถ้ำ ?
ภัยจากอะไร?
ดูเหมือนทั้งหมด
ที่สร้อยแก้ว ยกมาจะมีเฉลยแล้วด้วย นะ
Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 9:53
ได้โปรดเฉลยด้วยเถิดค่ะ ดิฉันยังนึกไม่ออกเลย (รับทราบ)
Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 9:54
พระ
๘ แหวน แสดงธรรม ขอเชิญโอปปาติกะ มาฟังธรรม

ไม่ว่าอยู่ในภพใด ภัยที่ใหญ่ที่สุด

ของผู้มีชาติ(การเกิด)ทั้งหลาย

คือภัย..แห่งวัฏฏะสังสาร อันหมุนวนไม่-รู้จบ -รู้สิ้น



นิ้วโป้ง คือ องคุลี

นิ้วชี้ คือ ดัชนี

นิ้วกลาง คือ มัชฌิมา

นิ้วนาง คือ อนามิกา

นิ้วก้อย คือ ขนิษฐา



นิ้วไหน สร้าง ปัญหาที่สุด

นิ้วชี้ - " ดัชนี " เพื่อบ่งชี้ เพื่อชี้สั่ง เพื่อบังคับ เพื่อประดับบารมี

ในความที่ -นี่เป็นตัวกู -นี่เป็นของกู

นิ้วนาง -อนามิกา มีความหมายว่า ไม่มีชื่อ ไม่ใช่ชื่อ

มาจากศัพท์ "อ"(อุปสรรค แปลว่าไม่) "นาม" เติม อะ ข้างหน้า เป็น อนามิก, แล้วเติมสระอา เป็นคำนามเพศหญิง ได้ "อนามิกา"

อนามิกา แปลว่า ผู้ไม่มีชื่อ, ไม่ใช่ชื่อ

เมื่อไม่มีชื่อ หรือไม่มีนาม คำนี้จึงมีนัยถึง ..

"" สิ่งที่ 'ล้ำค่า' เกินกว่าจะเรียกด้วยชื่อใดๆ ก็ได้ ""

นอกจากสันสกฤตและบาลีแล้ว ภาษาจีน ก็เรียกนิ้วนางว่า 无名指 แปลว่า นิ้วที่ไม่มีชื่อ

ชื่อนี้จึงแปลก และนับว่าสำคัญไม่น้อยเลย
Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 9:54
นิ้วบางนิ้วคือ ตัวกู ของกู ทำให้ตัวเองสำคัญ คือ

นิ้วดัชนี หรือ นิ้วชี้(สั่ง)


แต่นิ้วนาง มีชื่อว่า อนามิกา ซึ่งแปลว่า "ไม่มีชื่อ"

การเข้าสู่ความมี ที่เหมือนไม่มีนี่ คือ

สิ่งสำคัญ ที่แท้จริง หมายถึง

อย่าได้ให้ความสำคัญ กับอะไร

เพราะไม่มีอะไรเลยที่สำคัญ


ลายนิ้ว ก้นหอยที่หมุนวน ก็หมุนวนเช่นที่

วัฏฏะ หมุนวนอย่างไม่รู้จบ

เหนือนิ้ว คือพ้นวัฏฏะไปได้

ลี้ภัย จากภัยที่น่ากลัวที่สุด คือ ภัยจากวัฏฏะสงสาร


อารมณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทาง กาย ใจ

หากเราเห็นเป็น ...สักแต่ว่า

เราย่อมไม่เป็นทุกข์กับอะไรทั้งสิ้น
เราย่อมพ้นจากวัฏฏะ อันยาวนาน ที่เคย ยึดว่านี่คือ

ตัวตนของเรา "สักกายทิฏฐิ"



พระพาหิยะ ผู้บรรลุธรรมไวที่สุดในบรรดาสาวกทั้งหมด ได้ฟัง

ได้เข้าใจในคำว่า "สักแต่ว่า"

นี่แหละ ทำให้ บรรลุธรรมในทันที



หนึ่งในที่ ที่พระองค์ทรงสรรเสริญคือ ป่า ถ้ำ

เพื่อ กายวิเวก

ส่งผล จิตวิเวก

เป้าหมายเพื่อ อุปธิวิเวก
Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 10:02
๗ ยักษ์ ฟังธรรม
กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกวัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมจิต ในเบื้องต้นขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

การปฏิบัติกรรมฐานนั้น จะต้องประกอบด้วย
กายวิเวกความสงบสงัดทางกาย
จิตตวิเวกความสงบสงัดจิตใจ และ
อุปธิวิเวกความสงบสงัดกิเลส
กายวิเวกความสงบสงัดทางกายนั้น ก็หมายถึงจะต้องปลีกกายออกไปสู่ที่สงบสงัด
ดังเช่นที่ตรัสสอนเอาไว้ในต้นสติปัฏฐาน ว่าไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือว่าเรือนว่าง
แม้ว่าการมาสู่สถานที่นี้ อันเป็นที่ที่จัดไว้สำหรับปฏิบัติทางกรรมฐาน
อันเป็นที่วิเวกคือสงบสงัด ก็ชื่อว่าเป็นการปลีกมาสู่ที่สงบสงัดได้

กายวิเวกในขั้นศีล
และอีกอย่างหนึ่งกายวิเวกนั้นก็หมายถึงศีล เช่นศีล ๕
เมื่อตั้งใจงดเว้นจากความประพฤติผิดศีล ๕ ก็เป็นการปลีกกรรมทางกายทางวาจา
ให้สงบสงัดจากภัยเวรทั้งหลาย ศีลจึงเป็นเป็นกายวิเวก

เพราะฉะนั้น แม้ว่าจะหาป่าไม่ได้ ไม่สะดวกที่จะไปอยู่โคนไม้หรือเรือนว่างอย่างอื่น
ก็ให้ทำกายนี้แหละให้สงบสงัดจากภัยเวรด้วยศีล
และทำกายนี้แหละให้ประกอบด้วยความสำรวมระวัง คือ
สำรวมกายสำรวมวาจา ดั่งที่ ทุกๆ คนพากันนั่งอยู่อย่างสงบสงัด ดั่งในบัดนี้ ก็ชื่อว่า
ทำกายวิเวกความสงบสงัดทางกาย และเมื่อได้กายวิเวกดั่งนี้
ก็เป็นที่ตั้งของจิตตวิเวกคือความสงบจิตใจ

จิตตวิเวกในขั้นสมาธิ

อันจิตตวิเวกคือสงบทางจิตใจนี้ ก็คือสงบจิตใจจากนิวรณ์ทั้งหลาย
ซึ่งเป็นเครื่องกั้นจิตไว้ไม่ให้ได้สมาธิ ไม่ให้ได้ปัญญา ก็ได้แก่
ทำจิตให้สงบสงัดจากกามฉันท์ ความยินดีพอใจในกามทั้งหลาย คือ
ในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง ที่น่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจทั้งหลาย
ไม่ส่งใจไปในกามเหล่านี้ และก็สงบจากกิเลสกามคือตัวความใคร่
ความปรารถนาของจิตใจโดยตรง ทำจิตใจให้สงบ

และนอกจากสงบสงัดจากกามฉันท์แล้ว ก็
สงบสงัดจากพยาบาท คือความกระทบกระทั่ง ขึ้งเคียดโกรธแค้นขัดเคือง มุ่งปองร้าย
สงบสงัดจากถีนมิทธะความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม
สงบสงัดจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
สงบสงัดจากความเคลือบแคลงสงสัยทั้งหลาย เมื่อจิตใจได้
ความสงบสงัดดั่งนี้ ก็เป็นจิตตวิเวก

อุปธิวิเวกในขั้นปัญญา
อุปธิวิเวกความสงบสงัดกิเลสนั้น เมื่อกล่าวโดยส่วนรวม ก็คือสงบสงัดจากโลภโกรธหลง หรือ
ราคะความติดใจยินดี โทสะความขัดเคืองประทุษร้ายใจตัวเอง โมหะความหลง
สงบสงัดจากตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากไปต่างๆ ดิ้นรนทะยานอยากไปในกามบ้าง
ในภพความเป็นนั่นเป็นนี่บ้าง ในวิภพความไม่เป็นนั่นเป็นนี่บ้าง
สงบสงัดจากอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น โดยตรงก็คือความยึดมั่นถือมั่นในนามรูปนี้
ว่าเป็นตัวเราของเรา
ความสงบสงัดจากกิเลสดังกล่าวนี้ต้องใช้ปัญญาเป็นข้อสำคัญ
ส่วนความสงบสงัดจิตใจที่เป็นจิตตวิเวกนั้น ใช้สมาธิเป็นข้อสำคัญ
ความสงบสงัดทางกายที่เป็นกายวิเวกนั้น ต้องใช้ศีลเป็นข้อสำคัญ
รวมความว่า ต้องปฏิบัติให้มีศีล ให้มีสมาธิ และให้มีปัญญาที่เป็นภาคพื้น
อันจะเป็นเครื่องรองรับ สั่งสม การปฏิบัติในศีลในสมาธิในปัญญาที่ยิ่งขึ้นไป
Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 12:48
๘ แหวน แสดงธรรม ขอเชิญโอปปาติกะ มาฟังธรรม
ไม่ว่าอยู่ในภพใด ภัยที่ใหญ่ที่สุด
ของผู้มีชาติ(การเกิด)ทั้งหลาย
คือภัย..แห่งวัฏฏะสังสาร อันหมุนวนไม่-รู้จบ -รู้สิ้น

นิ้วโป้ง คือ องคุลี
นิ้วชี้ คือ ดัชนี
นิ้วกลาง คือ มัชฌิมา
นิ้วนาง คือ อนามิกา
นิ้วก้อย คือ ขนิษฐา

นิ้วไหน สร้าง ปัญหาที่สุด
นิ้วชี้ - " ดัชนี " เพื่อบ่งชี้ เพื่อชี้สั่ง เพื่อบังคับ เพื่อประดับบารมี
ในความที่ -นี่เป็นตัวกู -นี่เป็นของกู
นิ้วนาง -อนามิกา มีความหมายว่า ไม่มีชื่อ ไม่ใช่ชื่อ
มาจากศัพท์ "อ"(อุปสรรค แปลว่าไม่) "นาม" (คำนาม แปลว่าชื่อ)
"อิก" (ปัจจัย แปลว่า มี, ผู้มี)
คำหลักคือ นาม แปลว่าชื่อ นำไปเติม -อิก ได้เป็น นามิก (ว่าแบบย่อๆ นะครับ)
เป็นคุณศัพท์แปลว่า เกี่ยวกับชื่อ หรือคำนาม
เติม อะ ข้างหน้า เป็น อนามิก, แล้วเติมสระอา เป็นคำนามเพศหญิง ได้ "อนามิกา"
อนามิกา แปลว่า ผู้ไม่มีชื่อ, ไม่ใช่ชื่อ
เมื่อไม่มีชื่อ หรือไม่มีนาม คำนี้จึงมีนัยถึง ..
"" สิ่งที่ 'ล้ำค่า' เกินกว่าจะเรียกด้วยชื่อใดๆ ก็ได้ ""
นอกจากสันสกฤตและบาลีแล้ว ภาษาจีน ก็เรียกนิ้วนางว่า 无名指 แปลว่า นิ้วที่ไม่มีชื่อ
ชื่อนี้จึงแปลก และนับว่าสำคัญไม่น้อยเลย
https://l.facebook.com/l/uAQGs2RZMAQEqysZfXJb1SbzTqpfepe_gX3o1eu_PQM_-pg/https%3A%2F%2Fwww.gotoknow.org%2Fposts%2F515298

การไม่ต้องมีตัวตน จึงกลับเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าการมีตัวตนไป
ส่วนมากเรา นิยมใช้ แหวน ประดับที่นิ้วไหนกัน ?

ลายนิ้วที่สำคัญ ไว้ใช้ในการทำนายของโหราศาสตร์ คือลายนิ้วแบบ ก้นหอย
รูปร่างของลายนิ้วประเภทนี้คือการ หมุนวน อย่างเดียวกับที่ สังสารวัฏ เป็น

เมื่อเราเห็นภัยในวัฏฏะสังสาร
ที่ใด ? ที่เหมาะแก่ @ การลี้ภัย @
ที่ใด ? เป็นที่ผู้ของ @ ผู้ลี้ภัย @

พระพุทธองค์ทรงให้ อยู่ในที่อันสงบ สงัด อยู่ให้ไกลจากความวุ่นวาย
อยู่วิเวก อยู่เพียงลำพัง เพื่อยังบารมีทั้งหลายให้เกิด
มีความเพลิดเพลิน ในความสงบกาย สงบใจ เป็นอารมณ์
ความวิเวก
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง

[๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓
อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.
กายวิเวกเป็นไฉน?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา @ ถ้ำ @ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่คือ
เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว
นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ
รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า..กายวิเวก.

จิตตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุผู้..
บรรลุ-ปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์
บรรลุ-ทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร
บรรลุ-ตติยฌาน มีจิตจากปีติ
บรรลุ-จตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์
บรรลุ-อากาสานัญจายตนฌาน ...มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
บรรลุ-วิญญาณัญจายตนฌาน ...มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา
บรรลุ-อากิญจัญญายตนฌาน ..มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
บรรลุ-เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน.. มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา
(เมื่อภิกษุนั้น)
เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจาก สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น
เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจาก กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ
กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ
กามราคสังโยชน์อย่างหยาบ เป็นต้นนั้น
เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจาก
กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์-อย่างละเอียด
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย-อย่างละเอียด
และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคะ*สังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น
เป็นอรหันตบุคคล มีจิตสงัดจาก
รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย
กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น
และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่า ""...จิตตวิเวก...""

อุปธิวิเวกเป็นไฉน?
กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพาน
เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.

ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่
บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.
คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า
นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้
อันกิเลสมากปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้
นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่
ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก คืออยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล
มิใช่ใกล้ มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง.
คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้น
เช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจาก วิเวก.
Sroikaew Phromsungnoen21 มีนาคม 12:50
๙ อ่าง ทำความเห็นให้ถูกตรง
ตามสัมมาทิฏฐิ
๑ สาสวะ เบื้องต้น ๑๐ และ
๒ อนาสวะ เบื้องปลาย มองเห็น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
ว่าที่จริงมันคือทุกข์ ไม่ใช่สุขอย่างทีเข้าใจ...
เพราะเมื่อติดใจมัน คือต้องดิ้นรนแสวงหามัน ไม่ต่างอะไรกับ
@ ปลาติดเบ็ดที่ ไม่สามารถปลดตัวเองจากเบ็ด อัน เจ็บปวด หรือ ไม่ต่างอะไรกับ
@ ยาเสพติด ที่เพลิดเพลินเมื่อลิ้มลอง แต่ยากที่จะหลุด จากการเป็นทาสมัน

๑๐ กา อุทิศขออุทิศบุญให้กับ
ผู้ให้คุณ ได้แก่ พ่อ แม่ ครู(ระบุชื่อ ในใจ) ผู้ให้การอุปถัมป์ ผู้ให้ความสุข ทั้งหลาย
ผู้ให้โทษ ได้แก่ ผู้ที่เคยล่วงเกินด้วย กาย วาจา ใจ ในกาลก่อน
ผู้ไม่ให้คุณ-ให้โทษ ได้แก่ สัมภเวสี เปรต ต่างๆ ที่ปรารถนาส่วนบุญ

1 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น